วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การตั้งชื่อตัวละครไทย

การตั้งชื่อตัวละคร

อ่า...เรื่องนี้คือปัญหาที่นักเขียนส่วนใหญ่จะประสบกัน ขอแยกเป็นประเภทนะคะ
แนวแฟนตาซี
ชื่อตัวละครแฟนตาซีนี้อาจจะยากที่สุดหรือง่ายที่สุดสำหรับหลายๆ คน ก็มีหลายวิธีค่ะสำหรับการตั้งชื่อตัวละครแฟนตาซี
1. เปิดดิกชันนารี : วิธีนี้ฮิตมาก แต่ละคนก็มีแนวทางต่างกันออกไปอีก แต่สำหรับฌามส์แล้วไม่นิยมใช้วิธีนี้ค่ะ เลยขอยกตัวอย่างของคนอื่นๆ นะคะ
            จากเว็บhttp://www.forwriter.com/mysite/forwriter.com/forwriterroom/namefantasy.htm
        1.1 เริ่มต้นด้วยคำ ๆ หนึ่ง ที่มีมากกว่าห้าตัวอักษรขึ้นไป เช่น salamander ( แนะนำให้สุ่มเปิดdictionary แล้วเลือกเอามา) 
        1.2 ตัดพยัญชนะออกให้เหลือเพียงตัวสุดท้าย - aa - a – er ( ตัดตัว s l m n d ออกเหลือ ซึ่งเป็นตัวสุดท้าย)
        1.3 จัดเรียงตัวอักษรใหม่โดยเอาตัวหลังเรียงขึ้นก่อนปิดท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดิมที่เหลือ ( จากaaaer เป็น re - aa-ar หรือ re-a-a-ar แล้วแต่ว่าคุณจะจัดเรียงเป็นกี่พยางค์ )
        1.4 ตัวพยัญขนะที่เราตัดทิ้ง จะมาใส่งลงตรงไหนก็ได้ mre-da-lar ( มีร์ดาร่า ) dre-saa-nar ( ดีร์แซน่า ) lre-ma-da -lar ( ลีร์มาดาลาร์)
        1.5 ลองอ่านดูเข้าท่าไหม ถ้าไม่ชอบใจก็ลองหาจากคำอื่น 
หรือจะแผลงไปจากคำที่เราตั้งได้ใหม่อีกทีก็ได้

2. เอาจากชื่อจริงของบุคคล วิธีนี้แปลกใช่มั้ยคะแต่เข้าท่าดีนะ เราจะเอาจากชื่อจริงของใครคนใดคนหนึ่งแล้วเอามามาแผลงเป็นชื่อแฟนตาซี
ฌามส์ขอยกตัวอย่างนะคะ
ดาริน(ด+ร) = ดาเรียดาริน่า
รมย์นลิน(ร+น+ล) = เรย์นีลาราเนเลียรีเนียลา
ธนดนย์(ธ+น+ด) = ธีนาเดียส(ชื่อผู้ชาย)ธานาเดีย(ผู้หญิง)
ฌามส์ = ฌามิส(ผู้ชาย)ฌามิน(ผู้หญิง)
เห็นมั้ยคะ ง่ายนิดเดียว ถ้าจะให้ง่ายยิ่งขึ้น ก็ลองเอาแพทเทิร์นของสระนี้ไปลองดูค่ะ
เอ+อา+โอ
เอ+อี+อา
อา+เอ+เอีย
อี+เอ+เอีย
เอ+อัว+เอีย
อี+เอีย+อา
เอ+อู+อา
อัว+โอ
อา+อี+ออ
อา+อา+เอีย
อา+อา+ออ
อา+เอ+เอ
เอ+เอีย
เอ+อี
อี+อา
อา+เอีย
วิธีนี้ทั้งง่ายทั้งสนุก ขอบคุณเว็บ http://writer.dek-d.com/seesor/writer/viewlongc.php?id=286005&chapter=3

3. เริ่มจากความหมายก่อน : เช่น ฌามส์ชอบความหมายว่า น้ำ ก็เปิดดิกหาดู ได้มาคำหนึ่งคือ อควา เราก็เอาไปปรุงแต่งให้ไพเราะและเป็นแฟนตาซีมากยิ่งขึ้น ก็ลองเติม เซีย, เรีย ลงไป กลายเป็น อควาเซียอควาเรีย
ตัวอย่าง อีกสักตัว ฌามส์อยากได้ชื่อผู้ชายที่มีความหมายว่า มหาสมุทร ก็ได้ชื่อแฟนตาซีที่ฌามส์พอใจมาคือ อาร์เนฟ อื้อหือ เท่ไม่หยอกเลย
นี่ค่ะ เว็บตัวช่วย http://writer.dek-d.com/seesor/writer/view.php?id=469573

4. แหล่งตัวช่วยในการคิดชื่อแฟนตาซี มาจากหลายแหล่งค่ะ เช่น
- พจนานุกรมภาษาต่างๆ ที่ฮิตที่สุดก็คงจะเป็นแถวยุโรปกับละติน
- ชื่อและตำนานหมู่ดาวต่างๆ
- ตำนานเทพเจ้ากรีก โรมัน อียิปต์ และยุโรป
- ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช สัตว์ สารเคมี และธาตุต่างๆ
- ตำนานเกมออนไลน์การ์ตูนต่างๆ

นี่คือเว็บตัวช่วยในการคิดชื่อแฟนตาซีค่ะ

แนวรักกุ๊กกิ๊กของวัยรุ่น
อ่า...นิยายแนวนี้ส่วนใหญ่ของแจ่มใสจะขายดีที่สุด - -*
ชื่อ ของตัวละครแต่ละตัวนั้น...ในโลกแห่งความเป็นจริงแทบจะไม่มีใครชื่อนั้นเลย เอาล่ะ ฌามส์เข้าใจค่ะว่ามันเท่ เพราะฌามส์ก็ชอบเหมือนกัน ฮ่าๆ
แนวการคิดชื่อ ฌามส์จะลองรวบรวมจากนิยายที่เคยอ่านนะคะ
1. ชื่อจากตารางธาตุ : ก็มีมากอยู่เหมือนกันสำหรับแนวตารางธาตุ ทั้งเรดอน(นางเอกชื่อ รอนเด้ น่ากลัวแฮะ 555) อาร์กอน ซีนอน ซัลเฟอร์(อันนี้แนวแฟนตาซีก็มีค่ะ)
2. ชื่อคนดัง : เช่น สตาลิน ฮิตเลอร์ เลนิน(ซ์) โจโฉ ซีซาร์ ลูแปง เอดิสัน อลิซาเบธ นโปเลียน โอลิเวีย
3. ตำแหน่งและอาชีพ : เช่น ฟาโรห์ กัปตัน จักรพรรดิ คิง ควีน พริ้นซ์ พริ้นเซส ฮ่องเต้ ราชัน
4. สัตว์ : เช่น แบร์(หมี) โลมา ชีตาร์ เรนเดียร์
5. สถานที่และสิ่งก่อสร้าง : เช่น รันเวย์ บิ๊กเบน เอมไพรส์ ไอเฟล
6. หน่วยวัดต่างๆ : เช่น เคลวิน โรเมอร์ ฟาเรนไฮต์ พลังค์ ริกเตอร์ แอมแปร์
7. พืช,ผัก,ผลไม้ : เช่น เมลอน เปปเปอร์ ผักกาด แครอท ออเรนจ์ แอปเปิ้ล  
8. อาหาร : เช่น ข้าวปั้น ข้าวปุ้น ครีม ขนมหวาน ปุยฝ้าย
9. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ :เช่น  คิว เจ เค เอ็ม เอส ที
10. ชื่อประเทศ(แนะนำให้เปิดแผนที่โลก) : เช่น อิตาลี สเปน อังกฤษ กาตาร์ คูเวต จอร์เจีย ไซปรัส เนปาล เดนมาร์ก นอร์เวย์ เบลารุส
 ฯลฯ
เท่และเยอะดีนะคะ 555
แนวรักหวานแหวว(แบบผู้ใหญ่)
แบบปกติ(?)
แนวนี้เวลาแต่งจะใช้ชื่อจริงค่ะ ฌามส์ว่ามี 2 วิธีนะคะ
1. เปิดจากพจนานุกรมค่ะ ถูกใจชื่อไหนก็เอาเลย หรือจะสนธิเอาเองก็ได้
2. เปิดเว็บค่ะ มีเยอะมาก ให้เลือกเยอะแยะมากมาย เช่น

แบบอาหรับทะเลทราย
ประมาณว่าเป็นชีค อะไรทำนองนี้ค่ะ
นี่ค่ะ เว็บ

- แบบต่างประเทศ
นิยาย แบบนี้อาจจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะเนื้อเรื่องทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ต่างประเทศหรือตัวละครภายในเรื่องมี สัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย
วิธีที่พอจะใช้ได้คือ
1. เปิดดิกชันนารีค่ะ ดิกชันนารีของภาษานั้นๆ ที่เราจะแต่ง
2. หาชื่อดารานักร้องนักกีฬาคนเด่นคนดังของประเทศนั้นๆ แล้วเอาชื่อเขามาใช้เลยค่ะ ไม่ต้องเกรงใจ (ฮ่าๆ)
3. หาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ชื่อคนในประเทศนั้นๆ จะทำให้เราสามารถคิดชื่อได้คล่องยิ่งขึ้น
ข้อความจาก https://sites.google.com

การสร้างการ์ตูน



ขั้นตอนในการทำแอนิเมชัน

การสร้างแอนิเมชันไม่ว่าจะเป็นประเภทใดสามารถแบ่งขั้นตอนการทำได้ ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

๑. ขั้นตอนเตรียมการก่อนการทำ
๒. ขั้นตอนการทำ  
๓. ขั้นตอนหลังการทำ

๑. ขั้นตอนเตรียมการก่อนการทำ (Preproduction)

เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างเนื้อหาของภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนั้นๆ ความสนุก ตื่นเต้น  และอารมณ์ของตัวละครทั้งหลาย จะถูกกำหนดในขั้นตอนนี้ทั้งหมด ดังนั้นในส่วนนี้จึงมีหลายขั้นตอนและค่อนข้างซับซ้อน หลายคนจึงมักกล่าวว่า หากเสร็จงานในขั้นตอนเตรียมการนี้แล้ว ก็เสมือนทำงานเสร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ในขั้นตอนนี้จะแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอนย่อยด้วยกัน  โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ
การเตรียมการ เพื่อผลิตภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน มีขั้นตอนหลายขั้นตอน และค่อนข้างซับซ้อน
การเตรียมการ เพื่อผลิตภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน มีขั้นตอนหลายขั้นตอน และค่อนข้างซับซ้อน
๑. เขียนเรื่องหรือบท (story) เป็นสิ่งแรกเริ่มที่สำคัญที่สุดในการผลิตชิ้นงานแอนิเมชันและภาพยนตร์ทุกเรื่อง  แอนิเมชันจะสนุกหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับเรื่องหรือบท

๒. ออกแบบภาพ (visual design) หลังจากได้เรื่องหรือบทมาแล้ว ก็จะคิดเกี่ยวกับตัวละครว่า ควรมีลักษณะหน้าตาอย่างไร สูงเท่าใด ฉากควรจะมีลักษณะอย่างไร สีอะไร ในขั้นตอนนี้ อาจทำก่อน หรือทำควบคู่ไปกับบทภาพ (storyboard) ก็ได้

๓. ทำบทภาพ (storyboard) คือ การนำบทที่เขียนขึ้นนั้นมาทำการจำแนกมุมภาพต่างๆ โดยการร่างภาพลายเส้น ซึ่งแสดงถึงการดำเนินเรื่องพร้อมคำบรรยายอย่างคร่าวๆ ซึ่งผู้บุกเบิกอย่างจริงจังในการใช้บทภาพ คือ บริษัทเดอะวอลต์ ดิสนีย์ ได้ริเริ่มขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๗๓ และได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้แต่ภาพยนตร์ก็ต้องใช้วิธีการวาดบทภาพ ก่อนถ่ายทำด้วยเช่นกัน

๔. ร่างช่วงภาพ (animatic) คือ การนำบทภาพทั้งหมดมาตัดต่อร้อยเรียงพร้อมใส่เสียงพากย์ของตัวละครทั้งหมด (นี่คือ ข้อแตกต่างระหว่างภาพยนตร์แอนิเมชันและภาพยนตร์ทั่วไป เพราะภาพยนตร์แอนิเมชันจำเป็นต้องตัดต่อก่อนที่จะผลิต  เพื่อจะได้รู้เวลาและการเคลื่อนไหวในแต่ละช็อตภาพ (shot) อย่างแม่นยำ ส่วนภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงนั้น จะตัดต่อภายหลังการถ่ายทำ)

๒. ขั้นตอนการทำ (Production)

เป็นขั้นตอนที่ทำให้ภาพตัวละครต่างๆ มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะกำหนดว่า ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนั้น จะสวยงามมากหรือน้อยเพียงใด ประกอบด้วย
การวาดและลงสีการ์ตูนแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์
การวาดและลงสีการ์ตูนแอนิเมชัน
ด้วยคอมพิวเตอร์ ๑. วางผัง (layout) คือ การกำหนดมุมภาพ และตำแหน่งของตัวละครอย่างละเอียด รวมทั้งวางแผนว่า ในแต่ละช็อตภาพนั้น ตัวละครจะต้องเคลื่อนไหว หรือแสดงสีหน้าอารมณ์อย่างไร ซึ่งหากทำภาพยนตร์แอนิเมชันกันเป็นทีม ก็จะต้องประชุมร่วมกันว่า แต่ละฉาก จะมีอะไรบ้าง เพื่อให้แบ่งงานกันได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหลังจากเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว จึงสามารถแบ่งงานให้แก่ทีมผู้ทำแอนิเมชัน และทีมฉาก แยกงานไปทำได้
๒. ทำให้เคลื่อนไหว (animate) คือ การทำให้ตัวละครเคลื่อนไหวตามบทในแต่ละฉากนั้นๆ ในขั้นตอนนี้สำคัญอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนการกำกับนักแสดงว่า จะเล่นได้ดีหรือไม่ ซึ่งหากทำขั้นตอนนี้ได้ไม่ดีพอ ก็อาจทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครด้วย ส่วนแอนิเมชันแบบภาพแสดงมิติมีวิธีการทำ โดยวาดภาพลงบนแผ่นพลาสติกโปร่งใสในแต่ละฉากของเรื่อง และเมื่อแบ่งย่อยลงไปอาจประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น ตัวละคร ต้นไม้ แม่น้ำ ภูเขา ดวงอาทิตย์ ตัวละครแต่ละตัวหรือสิ่งของแต่ละชิ้นจะถูกนำไปวาดลงบนแผ่นใสแต่ละแผ่น เมื่อนำแผ่นใสแต่ละแผ่นมาวางซ้อนกัน แล้วถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ก็จะได้ภาพการ์ตูน ๑ ภาพ ที่ประกอบไปด้วยตัวละครและฉาก ในการสร้างภาพการ์ตูนให้เคลื่อนไหว ผู้ทำแอนิเมชัน (animator) จะต้องกำหนดลงไปว่า ในแต่ละวินาที ตัวละครหรือสิ่งของในฉากหนึ่งๆ จะเปลี่ยนตำแหน่งหรืออิริยาบถไปอย่างไร ทั้งนี้ ผู้ทำแอนิเมชันจะต้องวาด หรือกำหนดอิริยาบถหลัก หรือคีย์ภาพ (key) ของแต่ละวินาที หลังจากนั้นผู้ทำแอนิเมชันคนอื่นๆ ก็จะวาดลำดับการเปลี่ยนแปลงอีกจำนวนหนึ่ง (ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ ๒๔ ภาพ) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวจากคีย์ภาพหนึ่ง ไปสู่อีกคีย์ภาพหนึ่ง ภาพวาดจำนวนมหาศาลระหว่างแต่ละคีย์ภาพเรียกว่า ภาพช่วงกลาง (in-betweens) ในการวาดภาพการ์ตูน ผู้วาดภาพที่วาดคีย์ภาพต่างๆ เรียกว่า ผู้วาดภาพหลัก (key animator) ซึ่งต้องเป็นนักวาดภาพที่มีฝีมือ ส่วนผู้วาดภาพอีกจำนวนหนึ่งที่ทำหน้าที่วาดภาพระหว่างภาพหลักเรียกว่า ผู้วาดภาพช่วงกลาง (in-betweener) นอกจากผู้วาดภาพแล้ว ก็มีผู้ลงสี (painter) ซึ่งมีหน้าที่ลงสี หรือระบายสีภาพให้สวยงาม
การสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันมีการใช้สีและแสงที่ให้อารมณ์ต่างกัน และมีฉากที่ช่วยเสริมอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมมากยิ่งขึ้น
การสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันมีการใช้สีและแสงที่ให้อารมณ์ต่างกัน
และมีฉากที่ช่วยเสริมอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมมากยิ่งขึ้น
๓. ฉากหลัง (background) ฝ่ายฉากเป็นฝ่ายที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าฝ่ายอื่นๆ เพราะฉากช่วยสื่ออารมณ์ได้เช่นเดียวกับตัวละคร เนื่องจากสีและแสงที่ต่างกันย่อมให้อารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน และฉากยังช่วยเสริมอารมณ์ของผู้ชมได้มากขึ้น

๓. ขั้นตอนหลังการทำ (Postproduction)

เป็นขั้นตอนปิดท้าย ได้แก่

๑. การประกอบภาพรวม (compositing) คือ ขั้นตอนในการนำตัวละครและฉากหลังมารวมเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งทั้งแอนิเมชันแบบภาพสองมิติและภาพสามมิติ ต่างต้องใช้กระบวนการนี้ทั้งสิ้น ในกระบวนการนี้ มีการปรับแสงและสีของภาพ ให้มีความกลมกลืนกัน ไม่ให้สีแตกต่างกัน

การนำตัวละครและฉากหลังมารวมเป็นภาพเดียวกัน เป็นกระบวนการที่จำเป็น สำหรับการทำแอนิเมชันแบบสองมิติ และแบบสามมิติ

๒. ดนตรีและเสียงประกอบ (music and sound effects) หมายถึง การเลือกเสียงดนตรีประกอบ ให้เข้ากับการดำเนินเรื่อง และฉากต่างๆ ของการ์ตูน รวมทั้งเสียงประกอบสังเคราะห์ด้วย ซึ่งวิศวกรเสียงสามารถสร้างเสียงประกอบ ให้สอดคล้องกับการดำเนินเรื่องได้ โดยดูจากเค้าโครงเรื่อง ดังนั้นเค้าโครงเรื่องถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในอดีต การสร้างเสียงประกอบสามารถทำได้ โดยการบันทึกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจริงที่ให้เสียงได้ใกล้เคียง เช่น เสียงเคาะกะลาอาจใช้แทนเสียงม้าวิ่ง เสียงเคาะช้อนและส้อมอาจใช้แทนเสียงการฟันดาบ ในปัจจุบัน ได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสังเคราะห์เสียงให้ได้เหมือนจริง หรือเกินกว่าความเป็นจริง เช่น เสียงคลื่น เสียงพายุ เสียงระเบิด ซึ่งวิศวกรเสียงได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ทั้งนี้ การ์ตูนภาพเดียวกันแต่เสียงประกอบต่างกัน เสียงประกอบที่ดีกว่า และเหมาะสมกว่า จะช่วยเพิ่มอารมณ์ความรู้สึก ในการชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันมากขึ้น

แบบจำลองสามมิติ (Three-dimensional model) 

เป็นการสร้างรูปทรงหรือรูปร่างแบบสามมิติ โดยการกำหนดจุดต่างๆ และเชื่อมโยงจุดด้วยเส้นตรง เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างรูปทรงสามมิติอาจทำได้โดยอัตโนมัติด้วยโปรแกรม ในกรณีที่รูปทรงเป็นแบบสมมาตร หรือรูปทรงเรขาคณิต หรือรูปทรงที่ประกอบขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิตมาประกอบกัน หากเป็นรูปทรงที่ไม่สมมาตร หรือมีรายละเอียดมาก ก็จำเป็นต้องกำหนดจุดต่างๆ และลากเส้นต่อจุดเองด้วยผู้วาดภาพที่เชี่ยวชาญ เช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติสำหรับใบหน้าและศีรษะมนุษย์ จำเป็นต้องกำหนดจุดเป็นจำนวนมากในหลักหมื่น เมื่อลากเส้นตรงต่อจุดเชื่อมโยงเป็นรูปใบหน้าและศีรษะในสามมิติ รูปทรงที่ได้เสมือนเกิดจากรูปสามเหลี่ยม หรือรูปสี่เหลี่ยม  หรือรูปหลายเหลี่ยม (polygon) มาเรียงต่อๆ กันเป็นแบบเส้นโครง (wire-frame) สำหรับรูปใบหน้า และศีรษะมนุษย์ อาจมีจำนวนรูปหลายเหลี่ยมในหลักพัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของการสร้างแบบจำลอง ในปัจจุบัน การสร้างแบบจำลองสามมิติอาจทำได้จากการใช้เครื่องกราดสามมิติ เพื่อกราดรูปทรงจริงสามมิติ เช่น ใบหน้ามนุษย์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลรูปหลายเหลี่ยมที่ได้ยังคงไม่สมบูรณ์ จึงต้องใช้ผู้วาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์มาปรับแต่งข้อมูลที่อาจไม่ถูกต้อง ซึ่งคงต้องใช้เวลามาก

การสร้างแอนิเมชันโดยใช้คอมพิวเตอร์ จะต้องนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ จึงจะทำให้ได้ภาพที่สมบูรณ์แบบ การสร้างแอนิเมชันโดยใช้คอมพิวเตอร์ จะต้องนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ จึงจะทำให้ได้ภาพที่สมบูรณ์แบบ

การให้แสง-เงา (Shading) 

เป็นการนำแบบจำลองสามมิติ ซึ่งประกอบด้วยรูปหลายเหลี่ยมจำนวนมากมาระบายสี และให้แสง-เงาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ภาพสมจริง ในขั้นตอนนี้ผู้วาดภาพจะกำหนดลักษณะของวัสดุและสีของรูปหลายเหลี่ยมต่างๆ  ตลอดจนประเภทของการให้แสง-เงา (shading type) หลังจากนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะจัดการสร้างแสง-เงาโดยอัตโนมัติ แต่ภาพที่ได้จากการให้แสง-เงายังคงไม่สมจริงมากนัก

การให้แสง-เงา ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพสมจริง การให้แสง-เงา ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เพื่อให้ได้ภาพสมจริง

ภาพเเละเนื้อหาต่างๆมาจาก http://kanchanapisek.or.th/

ประเภทของการ์ตูน



ประเภทของการ์ตูน
ลักษณะของการ์ตูน มี 2 ลักษณะ คือ
 
1. การ์ตูนภาพนิ่ง ( STATIC CARTOONS ) หมายถึง ลักษณะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ เป็นการบอกเล่า เล่าเรื่อง ไม่มีการดำเนินเรื่อง

2. การ์ตูนภาพเคลื่อนไหว
( DYNAMIC CARTOONS )หมายถึง ลักษณะที่มีความเปลี่ยนแปลงลีลาอิริยาบถต่างๆ ของตัวการ์ตูน จากภาพหนึ่ง
     ไปยังอีกภาพหนึ่ง 

ประเภทของการ์ตูนในประเทศไทย แบ่งได้ 5 ประเภท

1. การ์ตูนการเมือง ( Political Cartoons ) เป็นการ์ตูนที่มุ่งเน้นการล้อเลียน เสียดสี ประชดประชันบุคคล หรือเหตุการณ์ที่สำคัญ ในไทยนิยมล้อเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านอ่านเกิดความสนใจมีความคิดเห็นใหม่ๆลักษณะการ์ตูน ชนิดนี้อาจมีบรรยายหรือไม่มีก็ได้

2. การ์ตูนขำขัน ( Gag Cartoons ) เป็นการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว ที่มุ่งเน้นความขบขันเป็นหลัก การ์ตูนชนิดนี้จะนิยมนำเหตุการณืใกล้ตัวมาเขียน เป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากในสังคมไทย

3. การ์ตูนเรื่องยาว ( Comicorserial Cartoons ) เป็นการนำเสนอการ์ตูนที่เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันจนจบ การ์ตูนชนิดนี้ปรากฏอยู่ในนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ เรียกว่า Comics Strips แต่ถ้านำมาพิมพ์รวมเล่ม เรียกว่า Comics Books เช่น การ์ตูนเล่มของญี่ปุ่น และฝรั่ง ส่วนของการ์ตูนไทยนั้นนิยมนำเรื่องจากวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน จักร ๆ วงศ์ๆ เป็นต้น

4. การ์ตูนประกอบเรื่อง ( Illustrated Cartoons ) เป็นการ์ตูนที่ใช้ประกอบกับข้อเขียนอื่นๆ ประกอบโฆษณาเพื่อขยายความ หรือการ์ตูนประกอบ
การศึกษา

5. การ์ตูนมีชีวิต ( Animated Cartoons ) หรือการ์ตูนภาพยนตร์เป็นการ์ตูนที่มีการเคลื่อนไหวมีการลำดับภาพ และเรื่องราว ที่ต่อเนื่องกันคล้ายภาพยนตร์
ข้อความจาก http://cartoons-608.weebly.com/

เเเนวของการ์ตูน


แนวการ์ตูน คือ แนวทาง หรือ รูปแบบของการ์ตูน ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ หรือประเภทของการ์ตูนเรื่องนั้นๆ ซึ่งผู้อ่านบางคน อ่านการ์ตูนเฉพาะแนว ในปัจจุบัน การ์ตูนหนึ่งเรื่องอาจมีหลายแนวในตัวเอง หรือ เน้นแนวทางของตนเองจนสร้างเป็นเอกลักษณ์ใหม่

แนวการ์ตูนต่างๆ ในปัจจุบัน

เนื้อเรื่องมีการไปยังสถานที่และได้พบเจอสิ่งแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง Spirited Away เป็นต้น
เนื้อเรื่องมีการต่อสู้ เพื่อแข่งขัน รอดพ้น หรือเอาชีวิตรอด
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง ดราก้อนบอล เป็นต้น
เนื้อเรื่องเน้นไปในด้านการแข่งขัน และการกีฬาเป็นหลัก
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส เป็นต้น
  • โรแมนติก
เนื้อเรื่องเน้นไปในทางความรักของชาย-หญิง อาทิ ชมรมรัก คลับมหาสนุก เป็นต้น การ์ตูนแนวนี้ส่วนมากเป็นการ์ตูนโชโจะ
เนื้อเรื่องเน้นหรือแฝงความรักชาย-หญิง โดยตัวละครหลักเป็นผู้หญิงหลายคน แต่ตัวละครหลักที่เป็นผู้ชายจะมีน้อยคน หรือมีเพียงคนเดียว
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง คุณครูจอมเวท เนกิมะ! เป็นต้น
มีเนื้อหาที่สะเทือนใจผู้รับชมด้วยเนื้อเรื่องที่เศร้าสลด หดหู่
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง ยามซากุระร่วงโรย เป็นต้น
  • ตลก หรือ คอเมดี้
เนื้อเรื่องส่วนใหญ่แฝงไปด้วยฉาก และมุขตลก
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน เป็นต้น
ดำเนินอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงหรือโลกสมมติ โดยที่โลกนั้นมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าและทันสมัยมากเกินกว่าที่เทคโนโลยีของโลกแห่งความเป็นจริงในปัจจุบันจะสามารถเอื้อมถึง
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง กันดั้ม เป็นต้น
  • สงคราม
เนื้อเรื่องเน้นไปที่การประหัตประหารและทำสงครามต่อกัน หรือดำเนินเรื่องอยู่ในภาวะสงคราม
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง ลาสต์ เอ็กไซล์ เป็นต้น
เนื้อเรื่องมีปรากฏการณ์ที่ทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ มักมีโครงเรื่องมาจากประวัติศาสตร์, หลักฐานโบราณ, บันทึก, จารึก, ตำนาน โดยการ์ตูนประเภทนี้มักมีแกนเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้า, ภูติผี, ไสยศาสตร์
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง Princess Mononoke เป็นต้น
เนื้อเรื่องดำเนินอยู่ในโลกสมมติ โดยที่ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ประหลาดในโลกสมมตินี้ เป็นที่ยอมรับเสมือนเป็นเรื่องปกติของธรรมชาติ ในเนื้อเรื่องมักมี เวทมนตร์, คาถา, อาคม ตลอดจนสิ่งอื่นๆที่เป็นไปไม่ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ของโลกแห่งความเป็นจริง เข้ามาเกี่ยวข้อง
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม
เนื่องเรื่องมีปมหลักที่จะต้องถูกพิสูจน์หรือแก้ไข ซึ่งการจะแก้ปมหลักอาจจะต้องแก้ปมอื่นๆให้ได้ก่อน หรืออีกอย่างคือซ่อนเงื่อน
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง แพนโดร่า ฮาร์ท เป็นต้น
เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการสืบสวนหาต้นตอและผู้ร้ายในคดีตลอดจนเหตุการณ์ร้ายต่างๆ
การ์ตูนประเภทนี้ อาทิเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เป็นต้น
เป็นการ์ตูนแนวโรแมนติก เพียงแต่แกนเรื่องเป็นความรักระหว่างชาย-ชาย เนื้อเรื่องมักมีส่วนที่แสดงฉากเพศสัมพันธ์
เป็นการ์ตูนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็นชาย-ชาย โดยที่ระหว่างตัวเอกของเรื่องอาจมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง หรือมีการแสดงออกซึ่งความรัก แต่ไม่มีส่วนที่แสดงฉากเพศสัมพันธ์หรือฉากล่อแหลม
เป็นการ์ตูนแนวโรแมนติก เพียงแต่แกนเรื่องเป็นความรักระหว่างหญิง-หญิง
  • การ์ตูนเพื่อการศึกษา
เนื้อเรื่องเป็นไปเพื่อให้ความรู้แก่ผู้รับชม การ์ตูนประเภทนี้มักผลิตออกมาเพื่อเด็กระดับชั้นอนุบาลหรือประถมศึกษา
ข้อควาจาก https://th.wikipedia.org/wiki

การ์ตูน หมายถึง อะไร



รูปจาก jjgiftshops.weloveshopping.com
การ์ตูน (อังกฤษcartoon) คือทัศนศิลป์สองมิติรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความหมายที่เฉพาะเจาะจงแปรเปลี่ยนไปตามเวลา ความหมายในสมัยใหม่โดยทั่วไปหมายถึง การวาดเส้นหรือจิตรกรรมแบบกึ่งสัจนิยมหรืออสัจนิยม (กึ่งเหมือนจริงหรือไม่เหมือนจริง) เพื่อการเสียดสี การล้อเลียน ความขบขัน หรือการแสดงออกซึ่งกระบวนแบบเชิงศิลปะ ศิลปินผู้วาดการ์ตูนเรียกว่านักเขียนการ์ตูน (cartoonist)ในยุคอดีต การ์ตูนหมายถึงภาพร่างหรือภาพวาดที่ใช้การเรียนการศึกษาแทนการใช้ภาพจริง ในปัจจุบันการ์ตูนมักจะหมายถึงแอนิเมชัน ซึ่งเป็นเทคนิคในการสร้างการ์ตูนในยุคปัจจุบัน ที่มีการฉายทางโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ในความหมายอื่น การ์ตูนใช้แทนรายการสำหรับเด็กที่มีการใช้สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนมนุษย์
                     ข้อความจาก https://th.wikipedia.org/